วัตถุมงคล ในพระพุทธศาสนา
วัตถุมงคล ในพระพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า เครื่องรางของขลัง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
ประวัติการสร้าง
สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังการสร้างพระพุทธรูป (ราว พ.ศ. 500)ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานชัดเจนในในสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 400-พ.ศ. 1200)และ สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1300) โดยสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาเคารพสังเวชนียสถาน เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนความหมายของคำว่าพระเครื่องใน ประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่าพระเครื่องหรือ เรียกพระองค์เล็กๆที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่าพระเครื่อง
ความเชื่อและคตินิยม
พระเครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆพังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความ เจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา
ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง
ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน
พระเครื่องที่เป็นที่นิยม
พระกรุต่างๆ (ที่ขุดได้จากพุทธเจดีย์ โบราณสถาน) เช่นพระสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์
พระสมเด็จ เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรม พระสมเด็จเกศไชโย พระสมเด็จปิลันทร์ พระสมเด็จวัดหลวงปู่ภู พระผง ๙ สมเด็จเป็นต้น
พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จนางพญา สก.วัดบวรนิเวศวิหารพระสมเด็จนางพญา วัดบวรนิเวศวิหาร มวลสารจิตรลดา
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อท่านคล้าย พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
เหรียญที่ระลึกรูปพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (อยุธยา) พระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
เหรียญที่ระลึกรูปพระเกจิอาจารย์ (รูปพระภิกษุสงฆ์) เช่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อฉุย เป็นต้น
เหรียญหล่อ เช่น หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อเงิน บางคลาน เป็นต้น
พระปิดตา (พระภควัมบดี)เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ทับ หลวงปู่นาค เป็นต้น
พระกริ่ง/พระชัย เช่น พระกริ่งวัดสทัศน์ เป็นต้น
พระของขวัญวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด พระมงคลเทพมุนี
พระอื่นๆ เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นต้น
วัตถุมงคล ในพระพุทธศาสนา หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า เครื่องรางของขลัง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมติของพระพุทธเจ้ามีขนาดเล็ก สร้างไว้สำหรับบรรจุไว้ในพุทธเจดีย์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา
ประวัติการสร้าง
สันนิษฐานว่าสร้างภายหลังการสร้างพระพุทธรูป (ราว พ.ศ. 500)ปรากฏเห็นเป็นหลักฐานชัดเจนในในสมัยทวารวดี (ราว พ.ศ. 400-พ.ศ. 1200)และ สมัยศรีวิชัย (พ.ศ. 1300) โดยสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาเคารพสังเวชนียสถาน เพื่อให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนความหมายของคำว่าพระเครื่องใน ประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ท่านสั่งเครื่องจักรจากยุโรปมาเพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ ทำให้มีการผลิตเหรียญของเกจิอาจารย์ขึ้น ทำให้เรียกว่าพระที่ทำจากเครื่องจักรว่าพระเครื่องหรือ เรียกพระองค์เล็กๆที่เป็นพระพิมพ์เรียกเหมือนกันว่าพระเครื่อง
ความเชื่อและคตินิยม
พระเครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในพระพุทธเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่างๆพังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความ เจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา
ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง
ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกัน
พระเครื่องที่เป็นที่นิยม
พระกรุต่างๆ (ที่ขุดได้จากพุทธเจดีย์ โบราณสถาน) เช่นพระสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์
พระสมเด็จ เช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรม พระสมเด็จเกศไชโย พระสมเด็จปิลันทร์ พระสมเด็จวัดหลวงปู่ภู พระผง ๙ สมเด็จเป็นต้น
พระสมเด็จจิตรลดา
พระสมเด็จนางพญา สก.วัดบวรนิเวศวิหารพระสมเด็จนางพญา วัดบวรนิเวศวิหาร มวลสารจิตรลดา
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงพ่อท่านคล้าย พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
เหรียญที่ระลึกรูปพระพุทธรูป เช่น หลวงพ่อโต (อยุธยา) พระพุทธชินราช หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา
เหรียญที่ระลึกรูปพระเกจิอาจารย์ (รูปพระภิกษุสงฆ์) เช่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อฉุย เป็นต้น
เหรียญหล่อ เช่น หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงพ่อเงิน บางคลาน เป็นต้น
พระปิดตา (พระภควัมบดี)เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ทับ หลวงปู่นาค เป็นต้น
พระกริ่ง/พระชัย เช่น พระกริ่งวัดสทัศน์ เป็นต้น
พระของขวัญวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด พระมงคลเทพมุนี
พระอื่นๆ เช่น หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น