วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความเชื่อ:วัตถุมงคลที่อยู่ในสังคมไทย
วัตถุมงคล ในศาสนาพุทธ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์ ,พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย
วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความเชื่อ ศรัทธาในสิ่งของซึ่งอาจเป็นทางด้านศาสนา หรืออาจเป็นตามสมัยนิยมก็ได้ วัตถุมงคลจะมีมากมายในสังคมไทย เช่น พระเครื่อง, พระกริ่ง, พระกริ่งปวเรศ, ปลัดขิก, ผ้ายันต์, ตะกรุด, มีดหมอ, องค์เทพที่เป็นทางศาสนาอื่นๆ เช่น พระพรหม, พระตรีมูรติ, พระราหู
วัตถุมงคล ภายนอกกาย หรือ อาจจะเรียกเครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนั้นมาจากพุทธคุณ
พลังสีต่างๆที่ปรากฏในวัตถุมงคล หมายถึงพละพลังของวัตถุมงคลนั้นที่เปล่งอานุภาพออกมา พิจารณา จากสี ความใส ความกว้างของออร่า การตรวจอำนาจมงคลวัตถุโดยออร่า เช่นภาพถ่ายเป็นกระบวนการที่ใช้วิทยาศาสตร์มารองรับว่ามีพลังงานประจุอยู่ จริง ส่วนผลที่ว่า นำมงคลวัตถุนั้นไปใช้จะเกิดผลตามปรารถนาหรือไม่ ก็เป็นที่ตัวผู้ใช้เอง
วัตถุมงคล หมายถึง วัตถุสิ่งของใดๆที่พระเกจิอาจารย์ ฆราวาสหรือผู้รู้ได้ทำการปลุกเสกขึ้นมาเพื่ออุปเท่ห์ในการใช้เครื่องราง เช่น ตะกรุด เบี้ยแก้ ผ้ายันต์ ลูกอม กุมารทอง ฯลฯ
ของขลัง หมายถึง ของทนสิทธิ์ วัตถุใดๆที่มีดีในตัวเอง โดยพระเกจิอาจารย์ไม่ได้ทำการปลุกเสก เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เหล็กไหล เขี้ยวเสือกลวง เขี้ยวหมูตัน เขากวางคุด ข้าวสารหิน ไม้ไผ่ตัน ฯลฯ ซึ่งจัดอยู่ในประเภท วัตถุมงคล อีกชนิดหนึ่ง
วัตถุมงคล ที่เรียกกันว่า เครื่องรางของขลัง หมายถึง ของขลังใดๆที่มีดีในตัว ที่ได้ผ่านกรรมวิธีปลุกเสกหรือลงอักขระโดยพระเกจิอาจารย์ เช่น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตะกรุดไม้ไผ่ตัน เขี้ยวเสือกลวงลงอักขระ เบี้ยแก้ ไม้ครู มีดหมอ ผ้ายันต์ ผ้าประเจียด การสร้าง เครื่องรางของขลัง มีเยอะแยะมากมายเลยครับ ฯลฯ
คำว่า “เครื่องรางของขลัง” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายไว้สั้นๆ ว่า
เครื่องราง น. ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล ของขลัง น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น